The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Central Asia
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
WWF ออกแถลงการณ์เรื่อง การอนุรักษ์ธรรมชาติจะช่วยป้องกันภัยธรรมชาติได้
WWF แถลงการณ์ในรายงานฉบับหนึ่งว่า การทำลายธรรมชาติและสภาพแวดล้อมโดยน้ำมือของมนุษย์จะนำไปสู่ภัยภิบัติทางธรรมชาติ เพราะว่าสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป
รายงานฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า “การรักษาสมดุลทางธรรมชาติ – พื้นที่อนุรักษ์และการบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural Security: Protected Areas and Hazard Mitigation) ซึ่ง WWF ได้ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ ๆ ที่ผ่านมา เช่น ปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่บังคลาเทศ ปี 2000 และที่โมซัมบิค ปี 2000 และ 2001 และที่ยุโรปในปี 2006, ปรากฏการณ์คลื่นความร้อนและไฟป่าในปอร์ตุเกส ปี 2003, แผ่นดินไหวที่ปากีสถานปี 2005 และคลื่นซึนามิที่อินโดนีเซียปี 2004, และเฮอริเคนแคทรินาที่อเมริกาในปี 2005
WWF ระบุว่า หากมีการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างจริงจังแล้ว ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะลดลง
ลิซ่า ฮิกกิ้น โซกิบ หัวหน้าโครงการพื้นที่อนุรักษ์ของ WWF กล่าวว่า “ปัญหาเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า และการก่อสร้างในพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งมีผลต่อปริมาณของน้ำฝน จนนำไปสู่ภาวะน้ำท่วมไหลหลากและการพังทะลายของดิน หากมีการทำลายแนวปะการัง ตัดไม้โกงกางตามแนวชายฝั่ง และเคลียร์พื้นที่เนินทรายตามแนวชายฝั่งทะเล เราก็มักจะพบว่าจะเกิดหายนะต่อชีวิตและทรัพย์สินตามมาจากน้ำทะเลท่วมพื้นที่ชาวบ้านที่อยู่ใกล้ทะเล”
ธนาคารโลกเคยรายงานไว้ว่า ประชากรโลกมากกว่า 3.4 พันล้านคน หรือกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกทั้งหมดอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติจะเกิดถี่ขึ้น ๆ ไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการสูญเสียระบบนิเวศน์ที่เคยมีอยู่อย่างสมบูรณ์ในอดีต
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ การพบว่าหมู่เกาะเซเชลส์ที่อยู่ในมหาสมุทรอินเดียได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ถาโถมมากขึ้นเป็น 2 เท่า หลังจากที่มีการสำรวจพบว่าแนวปะการังที่อยู่ตามแนวชายฝั่งถูกทำลายลง และแนวไม้โกงกางที่กั้นอยู่ตามแนวชายฝั่งถูกตัดออกไป
อีกตัวอย่างหนึ่งคือที่ราบลุ่มแม่น้ำดานูปที่มีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นชุมชนจนทำให้ 70% ของพื้นที่เดิมถูกทำลาย ผลที่ตามมาคือการมีน้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลากมากขึ้น และเมื่อมีการปรับพื้นที่ป่าไม้และมีการเข้าไปพัฒนาพื้นที่ให้เปลี่ยนไปจากเดิม ผลที่ตามมาคือการมีไฟป่าเกิดขึ้นบ่อยมากขึ้น
โจนาธาน แรนดอล ผู้เขียนรายงานฉบับดังกล่าวให้ WWF และเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ WWF ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กล่าวว่า “หากมีมหันตภัยทางธรรมชาติขนาดใหญ่ ๆ เราอาจหลีกเลี่ยงมันไม่ได้ แต่เราสามารถที่จะลดระดับของความรุนแรงลงได้ หากว่าเรามีการจัดการเรื่องระบบนิเวศน์ได้ดีขึ้น รวมทั้งมีการประกาศพื้นที่อนุรักษ์ให้มีจำนวนมากขึ้น”
ตัวอย่างผลการทำงานที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการป้องกันภัยธรรมชาติคือ การใช้เงินถึง 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐในการซ่อมแซมแนวกั้นน้ำ และการปลูกต้นโกงกางตามแนวชายฝั่งทะเลของเวียดนามหลายจุด ทำให้ชุมชนชาวบ้านจำนวนมากได้รับการปกป้องจากพายุขนาดใหญ่ได้ พายุไต้ฝุ่นวูกองในปี 2000 ที่โหมกระหน่ำในพื้นที่ดังกล่าวก็ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียเหมือนเมื่อก่อน ในขณะที่หมู่บ้านที่อยู่นอกเขตโครงการได้รับความเสียหายอย่างหนัก และมีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก
ที่สวิตเซอแลนด์ มีการใช้งบประมาณ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในการปกป้องพื้นที่ป่า 17% ของป่าทั้งหมดในประเทศ เพื่อใช้ป่าเหล่านี้ป้องกันการพังทะลายของหิมะและดินถล่ม รวมทั้งการเกิดน้ำป่าไหลหลาก
WWF จึงเรียกร้องให้รัฐบาลต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญต่อพื้นที่อนุรักษ์เพื่อให้ระบบนิเวศน์คงอยู่ตลอดไป โดยเฉพาะแนวไม้โกงกางตามชายฝั่งทะเล, แนวปะการัง, ป่าไม้ และพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะระบบนิเวศน์เหล่านี้จะเป็นปราการป้องกันภัยธรรมชาติชั้นยอดในกรณีที่เกิดพิบัติภัยทางธรรมชาติ การรักษาความสมดุลทางธรรมชาติเหล่านี้ยังจะสามารถบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกได้อีกด้วย และสำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติบางแห่งนั้น WWF แนะนำว่า ให้หาโอกาสและช่องทางในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้กลับคืนมาโดยเร็ว
แรนดอล กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันมีการกล่าวถึงกันมากว่า การรักษาระบบนิเวศน์จะช่วยบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ แต่ถ้าจะให้ดีและเป็นการประกันความเสี่ยงจริง ๆ ต้องประกาศให้พื้นที่เหล่านั้นเป็นเขตอนุรักษ์ ซึ่งโอกาสที่พื้นที่เหล่านั้นจะถูกทำลายก็จะมีน้อยลง”
สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://assets.panda.org/downloads/natural_security_final.pdf